เส้นทางรถไฟฟ้ามีสายอะไรบ้าง? อัปเดตล่าสุด 2567

Highlights

  • การพักอาศัยย่านที่ติดกับเส้นทางรถไฟฟ้าจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ลดค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมัน รวมถึงยังเข้าสู่ตัวเมืองได้โดยไม่ต้องเสียเวลาบนท้องถนน
  • ในปัจจุบันเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการ อำนวยความสะดวกในการเดินทางนั้นมีมากมาย เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง , รถไฟฟ้าสายสีเขียว , รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน , Airport Rail Link เป็นต้น
  • สำหรับอัตราค่าโดยสายรถไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไป รวมถึงยังมีบัตรโดยสารที่ใช้ได้แตกต่างกันอีกด้วย เช่น บัตรแรบบิท หรือบัตร  MRT

     

ที่พักอาศัยใกล้เส้นทางรถไฟฟ้าดีอย่างไร

หากใครที่ต้องการเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน ย่อมต้องการเลือกที่อยู่อาศัยที่เดินทางสะดวกสบายเพื่อประหยัดเวลาบนท้องถนน แต่ในปัจจุบันที่การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าถือว่าสบายขึ้นอีกขั้น ฉะนั้น ผู้คนจึงหันมาสนใจเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดที่มีโลเคชั่นตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น  

ที่พักใกล้แนวรถไฟฟ้าดีอย่างไร ? นอกจากเพิ่มความสบายในการเดินทางแล้ว หากใครที่ต้องเสียค่าน้ำมันหลายพันบาทต่อเดือน หรือเสียค่าที่จอดรถในการไปทำธุระแต่ละครั้ง การใช้ขนสาธารณะจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางระยะใกล้ได้มากขึ้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายยิบย่อยอีกต่อไป

 

อัปเดตเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ล่าสุด 2567

เส้นทางรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีการขยายเพิ่มเติมอย่างกว้างขวาง ทั้งรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วและวางแผนเปิดให้บริการในอนาคต ในหัวข้อนี้มีสรุปสายรถไฟฟ้าทั้งหมดมีอะไรบ้าง ?

1. รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม

หลายคนอาจไม่ทราบว่า  รถไฟฟ้าสายสีแดงมีการแบ่งเส้นทางการเดินรถออกเป็น  2 สาย คือ สีแดงเข้มและสีแดงอ่อน สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มมีทั้งหมด  10 สถานี เริ่มต้นจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ไปจนถึงสถานีรังสิต มีจุดเชื่อมกับสายสีแดงอ่อนและสายสีน้ำเงินที่สถานีกลางบางซื่อ ในอนาคตยังมีการวางแผนขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีแดงไปสู่จังหวัดข้างเคียง อย่างปทุมธานี นครปฐม หรืออยุธยา โดยสถานีทั้งหมดของสายสีแดงเข้มที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน มีดังนี้

  1. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
  2. จตุจักร
  3. วัดเสมียนนารี
  4. บางเขน
  5. ทุ่งสองห้อง  
  6. หลักสี่
  7. การเคหะ
  8. ดอนเมือง
  9. หลักหก
  10. รังสิต

2. รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน

สำหรับรถไฟฟ้าสีแดงอ่อนเปิดให้บริการทั้งหมด 4 สถานี และเชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้มที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งในอนาคตมีแผนขยายเพื่อรองรับการเดินทางที่สะดวกยิ่งขึ้นจากทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ)
  2. บางซ่อน
  3. บางบำหรุ
  4. ตลิ่งชัน

3. Airport Rail Link แอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์

เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งหมดของแอร์พอร์ตลิ้งค์มีทั้งหมด  8 สถานี เริ่มจากสถานีพญาไทไปยังสถานีสุวรรณภูมิ มีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีมักกะสัน โดยสถานีทั้งหมดที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. พญาไท
  2. ราชปรารถ
  3. มักกะสัน
  4. รามคำแหง
  5. หัวหมาก
  6. บ้านทับช้าง
  7. ลาดกระบัง
  8. สุวรรณภูมิ

4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม  

รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม หรือหลายคนอาจรู้จักในชื่อรถไฟฟ้าสายสีลมมีทั้งหมด  14 สถานีด้วยกัน และเชื่อมต่อกับสายสีเขียวอ่อนที่สถานีสยาม โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. สนามกีฬาแห่งชาติ
  2. สยาม
  3. ราชดำริ
  4. ศาลาแดง
  5. ช่องนนทรี
  6. เซนต์หลุยส์
  7. สุรศักดิ์
  8. สะพานตากสิน
  9. กรุงธนบุรี
  10. วงเวียนใหญ่
  11. โพธิ์นิมิตร
  12. ตลาดพลู
  13. วุฒากาศ
  14. บางหว้า

5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน

รถไฟฟ้าสายสุขุมวิท หรือรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนมีทั้งหมด  48 สถานี ถือเป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้าที่มีสถานีมากที่สุด โดยผ่านพื้นที่  CBD ในกรุงเทพฯ ทั้งอโศก เพลินจิต หรือสยาม เป็นต้น และมีเส้นทางออกสู่จังหวัดข้างเคียงอย่างจังหวัดปทุมธานีและสมุทรปราการ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสายสีเขียวเข้มที่สถานีสยาม สายสีน้ำเงินที่สถานีอโศก และยังมีสายอื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออีกมากมาย โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. คูคต
  2. แยก คปอ.
  3. พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
  4. โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  5. สะพานใหม่
  6. สายหยุด
  7. พหลโยธิน  59
  8. วัดพระศรีมหาธาตุ
  9. กรมทหารราบที่ 11
  10. บางบัว
  11. กรมป่าไม้
  12. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  13. เสนานิคม
  14. รัชโยธิน
  15. พหลโยธิน  24
  16. ห้าแยกลาดพร้าว
  17. หมอชิต
  18. สะพานควาย
  19. เสนาร่วม
  20. อารีย์
  21. สนามเป้า
  22. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  23. พญาไท
  24. ราชเทวี
  25. สยาม
  26. ชิดลม
  27. เพลินจิต
  28. นานา
  29. อโศก
  30. พร้อมพงษ์
  31. ทองหล่อ
  32. เอกมัย
  33. พระโขนง
  34. อ่อนนุช
  35. บางจาก
  36. ปุณณวิถี
  37. อุดมสุข
  38. บางนา
  39. แบริ่ง
  40. สำโรง
  41. ปู่เจ้า
  42. ช้างเอราวัณ
  43. โรงเรียนนายเรือ
  44. ปากน้ำ
  45. ศรีนครินทร์
  46. แพรกษา
  47. สายลวด
  48. เคหะฯ

6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีทั้งหมด  39 สถานี เชื่อมต่อกับสายสีเขียวเข้มที่สถานีสีลม สายสีเขียวอ่อนที่สถานีสุขุมวิท และเชื่อมต่อกับสายสีแดงเข้มที่สถานีกลางบางซื่อ ถือเป็นรถไฟฟ้าอีกหนึ่งสายที่เชื่อมต่อจากพื้นที่ปริมณฑลเข้าสู่ย่าน  CBD ในกรุงเทพฯ นับเป็นสายหนึ่งที่สำคัญอย่างมากก็ว่าได้ โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. ท่าพระ (ถนนจรัญสนิทวงศ์)
  2. จรัญฯ  13
  3. ไฟฉาย
  4. บางขุนนนท์
  5. บางยี่ขัน
  6. สิรินธร
  7. บางพลัด
  8. บางอ้อ
  9. บางโพ
  10. เตาปูน
  11. บางซื่อ
  12. กำแพงเพชร
  13. สวนจตุจักร
  14. พหลโยธิน
  15. ลาดพร้าว
  16. รัชดาภิเษก
  17. สุทธิสาร
  18. ห้วยขวาง
  19. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  20. พระราม  9
  21. เพชรบุรี
  22. สุขุมวิท
  23. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  24. คลองเตย
  25. ลุมพินี
  26. สีลม
  27. สามย่าน
  28. หัวลำโพง
  29. วัดมังกร
  30. สามยอด
  31. สนามไชย
  32. อิสรภาพ
  33. ท่าพระ  
  34. บางไผ่
  35. บางหว้า
  36. เพชรเกษม  48
  37. ภาษีเจริญ
  38. บางแค
  39. หลักสอง

7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง

รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีทั้งหมด  16 สถานี โดยเส้นทางจากสถานีเตาปูนไปยังสถานีคลองบางไผ่ เส้นทางรถไฟฟ้านี้ถือเป็นเส้นทางหลักที่เปิดให้บริการในจังหวัดนนทบุรีเพื่อเชื่อมเข้าสู่บริเวณใจกลางกรุงเทพฯ เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. คลองบางไผ่
  2. ตลาดบางใหญ่
  3. สามแยกบางใหญ่
  4. บางพลู
  5. บางรักใหญ่
  6. บางรักน้อยท่าอิฐ
  7. ไทรม้า
  8. สะพานพระนั่งเกล้า
  9. แยกนนทบุรี  1
  10. บางกระสอ
  11. ศูนย์ราชการนนทบุรี
  12. กระทรวงสาธารณสุข
  13. แยกติวานนท์
  14. วงศ์สว่าง
  15. บางซ่อน
  16. เตาปูน

8. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีทั้งหมด  23 สถานี โดยวิ่งจากสถานีลาดพร้าวไปยังสถานีสำโรง และเชื่อมต่อกับ  Airport Link ที่สถานีมักกะสัน โดยสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมีดังนี้

  1. ลาดพร้าว
  2. ภาวนา
  3. โชคชัย  4
  4. ลาดพร้าว  71
  5. ลาดพร้าว  83
  6. มหาดไทย
  7. ลาดพร้าว  101
  8. บางกะปิ
  9. แยกลำสาลี
  10. ศรีกรีฑา
  11. หัวหมาก
  12. กลันตัน
  13. ศรีนุช
  14. ศรีนครินทร์  38
  15. สวนหลวง ร. 9
  16. ศรีอุดม
  17. ศรีเอี่ยม
  18. ศรีลาซาล
  19. ศรีแบริ่ง
  20. ศรีด่าน
  21. ศรีเทพา
  22. ทิพวัล
  23. สำโรง

 9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีทั้งหมด  30 สถานี โดยเส้นทางจากสถานีแครายไปยังสถานีมีนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ของเขตมีนบุรีในกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี โดยมีแผนขยายเข้าสู่พื้นที่บริเวณเมืองทองธานี ผู้ที่จะเดินทางมาร่วมงานที่จัดบริเวณเมืองทองธานีในอนาคตก็จะมาได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเชื่อมต่อกับสายสีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สายสีแดงที่สถานีหลักสี่ และสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี โดยสถานีที่เปิดให้บริการมีดังนี้

  1. ศูนย์ราชการนนทบุรี
  2. แคราย
  3. สนามบินน้ำ
  4. สามัคคี
  5. กรมชลประทาน
  6. แยกปากเกร็ด
  7. เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
  8. แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด  28
  9. ศรีรัช
  10. เมืองทองธานี
  11. แจ้งวัฒนะ  14
  12. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
  13. โทรคมนาคมแห่งชาติ
  14. หลักสี่
  15. ราชภัฏพระนคร
  16. วัดพระศรีมหาธาตุ
  17. รามอินทรา  3
  18. ลาดปลาเค้า
  19. รามอินทรา กม.  4
  20. มัยลาภ
  21. วัชรพล
  22. รามอินทรา กม.  6
  23. คู้บอน
  24. รามอินทรา กม.  9
  25. วงแหวนรามอินทรา
  26. นพรัตน์
  27. บางชัน
  28. เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  29. ตลาดมีนบุรี
  30. มีนบุรี

10. รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นโครงการที่วางแผนไว้ว่าจะมี 17 สถานี โดยเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมไปยังสถานีแยกร่มเกล้า เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ซึ่งมีก่อสร้างเส้นทางเสร็จครบ  100% แล้ว แต่คาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ในปี พ.ศ.  2569 โดยสถานีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้

  1. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  2. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  3. วัดพระราม  9
  4. รามคำแหง  12
  5. รามคำแหง
  6. การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
  7. รามคำแหง  34
  8. แยกลำสาลี
  9. ศรีบูรพา
  10. คลองบ้านม้า
  11. สัมมากร
  12. น้อมเกล้า
  13. ราษฎร์พัฒนา
  14. มีนพัฒนา
  15. เคหะรามคำแหง
  16. มีนบุรี
  17. แยกร่มเกล้า

11. รถไฟฟ้าสายสีฟ้า

อีกหนึ่งโครงการรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รถไฟฟ้าสายสีฟ้ามีทั้งหมด  9 สถานี เริ่มจากสถานีประชาสงเคราะห์ไปยังสถานีช่องนนทรี เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินที่สถานีมักกะสันและเพชรบุรี อีกหนึ่งเส้นทางรถไฟฟ้าที่ครอบคลุม  CBD ช่วงเพลินจิต ลุมพินี และช่องนนทรี เพราะเชื่อมต่อตั้งแต่ประชาสงเคราะห์จนถึงช่องนนทรี ซึ่งตอนแรกมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงปี พ.ศ.  2582 แต่อาจมีการเลื่อนออกไป โดยสถานีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้

  1. ประชาสงเคราะห์
  2. มิตรไมตรี
  3. ดินแดง
  4. มักกะสัน
  5. เพชรบุรี
  6. เพลินจิต
  7. ลุมพินี
  8. สวนพลู
  9. ช่องนนทรี

12. รถไฟฟ้าสายสีเทา

รถไฟฟ้าสายสีเทามีการวางแผนการสร้างเบื้องต้นทั้งหมด 39 สถานี เริ่มเส้นทางจากสถานีวัชรพลไปยังสถานีท่าพระ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น  3 ช่วงคือ วัชรพล-ทองหล่อ พระโขนง-พระราม  3 และ พระราม  3 -ท่าพระ ซึ่งตอนแรกมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จช่วงปี พ.ศ.  2585 แต่อาจมีการเลื่อนออกไป โดยสถานีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้

  1. วัชรพล
  2. อยู่เย็น
  3. ประดิษฐ์มนูธรรม  27
  4. ประดิษฐ์มนูธรรม  25
  5. โยธินพัฒนา
  6. ประดิษฐ์มนูธรรม  15
  7. สังคมสงเคราะห์
  8. ลาดพร้าว  71
  9. ศรีวรา
  10. ศูนย์แพทย์พัฒนา
  11. วัดพระราม  9
  12. เพชรบุรี  47
  13. แจ่มจันทร์
  14. ทองหล่อ  10
  15. ทองหล่อ
  16. พระโขนง
  17. บ้านกล้วยใต้
  18. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  19. เกษมราษฎร์
  20. ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  21. คลองเตย
  22. งามดูพลี
  23. ลุมพินี
  24. สวนพลู
  25. ช่องนนทรี
  26. นราธิวาสฯ
  27. นางลิ้นจี่
  28. รัชดา-นราธิวาส
  29. คลองช่องนนทรี
  30. พระราม  3
  31. คลองภูมิ
  32. คลองด่าน
  33. สาธุประดิษฐ์
  34. สะพานพระราม  9
  35. เจริญราษฎร์
  36. เจริญกรุง
  37. มไหสวรรย์
  38. ตลาดพลู
  39. ท่าพระ

อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าล่าสุด

ค่าโดยสารตามเส้นทางรถไฟฟ้า

ทราบกันไปแล้วว่าเส้นทางรถไฟฟ้าแต่ละสายมีสถานีใดบ้าง ต่อมาเราจึงได้รวบรวมค่าโดยสารรถไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ โดยขอยกตัวอย่างเส้นทางที่มีผู้ใช้งานมาก  3 สายดังต่อไปนี้  

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า  BTS

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า  BTS มีการกำหนดราคาตามระยะทางที่เดินทาง ตั้งแต่  15 บาท ถึง  62 บาท ในระยะเส้นทางเดินรถสายสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อน โดยค่าเดินทางดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมการเดินทางรถไฟฟ้าสายสีทอง สายสีเหลือง และสายสีชมพู หากเดินทางข้ามระบบจะมีค่าโดยสารเพิ่มเติม เมื่อรวมค่าเดินทางเบ็ดเสร็จค่าโดยสารจะมีอัตราสูงสุดที่  107 บาท  

นอกจากนี้ยังมีบัตรแรบบิท ( Rabbit Card) ที่สามารถเติมเงินเพื่อใช้ในการเดินทางและได้รับส่วนลดเพิ่มเติมในบางกรณี โดยบัตรนี้ใช้ได้กับรถไฟฟ้า  BTS และร้านค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ

 

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า  MRT

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า  MRT มีการกำหนดราคาตามระยะทางที่เดินทาง ตั้งแต่  17 บาท ถึง  45 บาท นอกจากนี้ยังมีบัตร  MRT แบบเติมเงินที่ช่วยให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น และสามารถใช้เดินทางได้อย่างไม่ต้องกังวลเรื่องการพกเงินสด

 

ค่าโดยสาร  Airport Rail Link

ค่าโดยสาร  Airport Rail Link (ARL) มีการกำหนดราคาตามระยะทางที่เดินทาง โดยมีค่าโดยสารอยู่ที่  15 บาท ถึง  45 บาท การชำระเงินจะอยู่ในรูปแบบเงินสดและบัตรเติมเงินเท่านั้น

 

แนะนำ โครงการบ้าน-คอนโดน่าอยู่ เดินทางสะดวก ใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า 2567

โครงการบ้านใกล้เส้นทางรถไฟฟ้า

เราขอแนะนำโครงการที่พักอาศัยใกล้เส้นทางรถไฟฟ้าจาก SC Asset เพื่อความสะดวกสบายที่เหนือกว่า

 

 



บทความที่เกี่ยวข้อง: